×

คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/kumuanggot/domains/kumuang.go.th/public_html/Kumuang/Gallery/travel-2
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery Pro plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: Kumuang/Gallery/travel-2
Print this page

โบราณสถานโนนแก อายุกว่า 2,000 ปี

      แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โบราณสถานโนนแก อายุกว่า 2,000 ปี ถูกค้นพบโบราณสถาน จำนวน 4 หลัง ตั้งอยู่ภายในกำแพงสิลาแลง เป็นซากอาคารที่สร้างทับซ้อนกันถึง 2 ยุคสมัยประวัติศาสตร์ ที่บ้านคูเมือง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

      โบราณสถานโนนแก เป็นสถานที่ศักดิ์ คู่บ้านคู่เมือง ใครเข้ามาจะมีแต่โชคดี สมหวังในทุกเรื่องที่อธิฐาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ห่างออกมาประมาณ 1 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่บนเนินดินที่เรียกว่า โนนปู่ตา บริเวณเนินโบราณสถาน ประกอบด้วย ซากอาคารโบราณสถาน จำนวน 4 หลัง ด้วยกัน ตั้งอยู่ภายในกำแพงสิลาแลง เป็นซากอาคารที่สร้างทับซ้อนกัน 2 สมัย สมัยแรก สร้างเนื่องในวัฒนธรรมขอมหรือเขมรใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ได้แก่ อาคารหลังทิศเหนือ และหลังทางทิศใต้มีอายุประมาณพุทธศวรรษที่ 17 – 18 อาคารสมัยที่ 2 ได้แก่ อาคารที่สร้างทับบนซากอาคารหลังทิศใต้ จำนวน 2 หลัง โดยมีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ เป็นอาคารที่สร้างเนื่องในพุทธศาสนา ในราวพุทธศวรรษที่ 24 – 25 การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรม

{gallery}travel-2{/gallery}

  • อาคารหมายเลข 1 อาคารหมายเลข 1 เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 9 x 12.50 เมตร โครงสร้างฐานล่างก่อด้วยศิลาแลง ก่อสูง 50 เซนติเมตร จากระดับพื้นผิวดินเดิม แกนอาคารด้านยาววางอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก อันเป็นแกนทิศสำคัญของโบราณสถาน ภายในขอบเขตของฐานมีแนวเสาไว้วางอยู่ตามแกนทิศสำคัญนี้อยู่ 4 แถวๆ ละ 6 ต้น เสาแถวในรองรับหลังคาเครื่องบน เสาแถวนอกรองรับโครงสร้างหลังคาปีกนก ผนังทั้ง 4 ด้าน เปิดโล่ง มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า (ด้านทิศตะวันออก) อาคารหมายเลข 1 นี้น่าจะใช้ประโยชน์เป็นวิหารโถง หลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ที่มีรูปแบบเหมือนกับกระเบื้องดินเผาที่พบในกลุ่มโบราณสถานแบบศิลปะเขมร
  • อาคารหมายเลข 2 อาคารหมายเลข 2 เป็นอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4.50x10 เมตร สันนิษฐานว่ามีความสูง 6.30 เมตร โครงสร้างฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงผิวภายนอกฉาบปูน ก่อขึ้นสูง 1 เมตร จากผิวดิน ด้านหน้ามีบันไดทางเข้าโดยก่อเป็นห้องมุข มีผนัง 3 ด้าน เปิดโล่ง ยกเว้นทางด้านทิศตะวันตกจะเป็นผนังไม้ มีประตูทางเข้าสู่ตัวอาคาร มีผนัง 4 ด้าน สร้างด้วยไม้ โครงสร้างหลังคาเป็นเครื่องไม้รองรับกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ซึ่งหลังคาจะรองรับด้วยเสาไม้ภายในอาคารจำนวน 2 แถว แถวละ 4 ต้น และมุขด้านหน้ามีเสารองรับหลังคาอีก 2 ต้น สันนิษฐานว่าผนังด้านหลังของอาคารจะสร้างติดกับแท่นฐานชุกชี ประดิษฐานพระประธาน โดยก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน สูง ประมาณ 70 เซนติเมตร ซึ่งมีลักษณะอาคารที่เรียกว่า “สิมทึบ” คือ สิมที่ทำผนังปิดทึบทั้ง 4 ด้าน
  • อาคารหมายเลข 3 อาคารหมายเลข 3 เป็นอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 6x9.80 เมตร สันนิษฐานว่ามีความสูง 6.70 เมตร สร้างหันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตก ชนกับด้านหน้าของอาคารหมายเลข 2 โครงสร้างฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนผนังก่อด้วยศิลาแลงหรืออิฐฉาบปูน ด้านหน้ามีบันไดทางเข้าโดยก่อเป็นมุข มีผนังสามด้านเปิดโล่ง ยกเว้นทางด้านตะวันออก เป็นผนังของซึ่งมีประตูทางเข้าสู่อาคาร ผนังสามด้านของอาคารก่อทึบมีช่องลมอยู่ทางด้านเหนือและด้านใต้ โครงสร้างหลังคาเป็นเครื่องไม้รองรับกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ซึ่งหลังคาจะรองรับด้วยเสาไม้ภายในอาคารอาคารจำนวน 2 แถว แถวละ 3 ต้น และทางด้านหลังติดกับฐานพระจะมีเสาเพิ่มอีก 1 ต้น ตรงกลาง ทางด้านหน้ามีเสา 4 ต้น รองรับโครงหลังมุข
  • อาคารหมายเลข 4 อาคารหมายเลข 4 เป็นซากโบราณสถานที่พังทลายหมดแล้ว เนื่องจากการลักขุดและดัดแปลงโบราณสถานในสมัยหลัง จึงไม่สามารถศึกษารูปแบบเดิมได้ อย่างไรก็ดีหลุมขุดตรวจฐานรากอาคารพบว่ามีร่องรอยการก่อสร้างฐานรากในสมัยเดียวกับอาคารหมายเลข 1 จึงอาจกล่าวได้ว่า มีการก่อสร้างศาสนสถานประธาน ขึ้นในกลุ่มซากปรักหักพังของหินแลงได้ ประกอบกับตำแหน่งที่พบฐานรากเป็นตำแหน่งกึ่งกลางของแกนหลักของโบราณสถานด้วย จากหลักฐานที่พบใบเสมาหินจำนวน 7 คู่ วางหันหน้าเข้าหาอาคารหมายเลข 2 และ 3 และใบเสมา 1 คู่ วางตำแหน่งซ้อนอยู่บนแนวอาคารหมายเลข 1 คงจะหมายถึงการเลิกใช้ประโยชน์จากอาคารหมายเลข 1 และให้ความสำคัญกับอาคารหมายเลข 2 และ 3 แทน ซึ่งมีลักษณะอาคารที่เรียกว่า “สิม” ที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สามารถสรุปสมัยของแหล่งโบราณคดีที่พบ คือ

  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคสำริด-เหล็ก) ประมาณ 2500 ปีมาแล้ว หลักฐานคือเนินดินสมัยก่อนประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุต่างๆ ปรากฏพบหลักฐานการฝังศพครั้งที่ 2 กำหนดอายุไม่ต่ำกว่า 2000 ปีมาแล้ว และพบเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุราว 2000-1300 ปีมาแล้ว
  • สมัยที่สอง สมัยที่สอง ชุมชนโบราณน่าจะมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องจากในระยะแรก คือช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14 หรือประมาณ 1400-1200 ปีมาแล้ว ตรงกับช่วงสมัยทวารวดี หลักฐานที่พบในสมัยนี้คือ เศษภาชนะดินเผา รูปทรงต่างๆ เช่น แจกัน หรือคนโท
  • สมัยที่สาม สมัยที่สาม ชุมชนโบราณน่าจะมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องจากสมัยที่ 2 คืออยู่ในช่วงพุทะศตวรรษที่ 15-19 หรือประมาณ 1100 ปีมาแล้ว ตรงกับช่วงอิทธิพลเขมรในประเทศไทย โบราณสถานโนนแกสมัยที่ 1 คงจะสร้างในช่วงเวลานี้ หลักฐานที่พบ คือ ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยจีน และพบสระน้ำหรือบาราย ที่อยู่ห่างจากโบราณสถานไปประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพบกิจกรรมการถลุงโลหะด้วย ซึ่งอาจจะใช้ภายในชุมชนหรือหรือผลิตเพื่อเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนก็ได้
  • สมัยปัจจุบัน สมัยปัจจุบัน ตั้งแต่การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวลาวที่เป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านในปัจจุบันประมาณ 200 ปีมาแล้ว และมีการใช้พื้นที่ในโบราณสถานโนนแกอีกครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24

      ปัจจุบัน โบราณสถานโนนแก เป็นโบราณสถานร้าง ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมได้ทุกวัน เส้นทางเข้าสู่แหล่งแหล่งท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ โบราณสถานโนนแก อยู่ห่างจากบ้านคูเมืองมาทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ จากตัวอำเภอวารินชำราบ ใช้ถนนกันทรลักษณ์ (ทางหลวงหมายเลข 2178) มุ่งหน้าทิศใต้ (มุ่งหน้าตำบลคูเมือง หรือมุ่งหน้าอำเภอกันทรลักษณ์) ผ่านแยกที่ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองอุบลไปประมาณ 4.7 กิโลเมตร พบสี่แยก เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวามุ่งหน้าบ้านคูเมือง ไปตามถนนประมาณ 3.3 กิโลเมตร ถึงบ้านคูเมือง พบสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนน (ผ่านชุมชนบ้านคูเมือง ออกสู่ด้านทิศตะวันออกของชุมชน) ประมาณ 1.4 กิโลเมตร พบสามแยกให้เบี่ยงซ้ายไปตามถนนลูกรัง (ตามป้าย โบราณสถานโนนแก ) ประมาณ 450 เมตร พบซอยด้านซ้ายมือ เลี้ยวไปตามถนนประมาณ 230 เมตร (ตามป้าย สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เทพนิมิตร ) ถึงโบราณสถานโนนแก

ที่มา : Guideubon.com